การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพผ่านโซเชียลมีเดียนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงต่อความเข้าใจผิดในสินค้า หากธุรกิจสามารถนําเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว ตรงประเด็น ย่อมจะสร้างความเชื่อมั่น และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจได้อีกด้วย แต่ประเด็นดังกล่าวส่งผลต่อต้นทุนของธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากการใช้บุคคลคอยตอบคําถามกับลูกค้านั้นสิ้นเปลืองแรงงาน และเวลา อีกทั้งอารมณ์ และความรู้สึกในแต่ละช่วงเวลาอาจส่งผลต่อมาตรฐานของคําตอบที่อาจทําให้เกิดความรู้สึกด้านลบของลูกค้า จากปัญหาดังกล่าวธุรกิจจํานวนมากจึงใช้ “แชทบอท (Chatbot)” ในการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าแทนบุคคล
ในส่วนถัดมาคือการลดต้นทุนขององค์กร โดยที่ Chatbot สามารถทำการเชื่อมต่อเข้ากับช่องทางการติดต่อของลูกค้าจากหลากหลายแหล่ง เช่น แอพพลิเคชั่น Facebook Messenger, แอพพลิเคชั่น Line, การติดต่อผ่านทาง Live Chat จากหน้าเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชั่นที่ทางบริษัทพัฒนาขึ้นมาด้วยตนเอง ซึ่งสามารถลดต้นทุนในการจ้างพนักงานที่ต้องมีความรู้ ความชำนาญในแต่ละด้านมาดูแล และรวมไปถึงปัญหาการขาดแคลนเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งปัจจุบันหลายองค์กรต้องเผชิญกับปัญหานี้ และการรับพนักงานเข้ามาต้องทำการฝึกอบรม และมีต้นทุนการฝึกอบรม ตลอดไปจนถึงอัตราการลาออกของเจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์นั้นอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้เกิดปัญหาการให้บริการผู้ใช้บริการได้ไม่ครบถ้วน ผู้ใช้บริการต้องรอเป็นระยะเวลานาน การนาเทคโนโลยี Chatbot เข้ามาช่วยนี้ ช่วยชะลอการเปิดรับเจ้าหน้าที่รุ่นใหม่ ส่งผลให้ต้นทุนการดาเนินงานขององค์กรลดลง